ทันตกรรมด้านการอุดฟัน

การอุดฟัน เป็นวิธีการรักษาฟันวิธีหนึ่งที่ใช้สำหรับเป็นทางเลือกในการรักษาฟันที่ถูกทำลาย รักษาฟันผุให้สามารถใช้งานได้เหมือนเดิม ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันโดยการนำเนื้อฟันที่ผุออก แล้วจึงทำความสะอาดก่อนที่จะใส่วัสดุอุดฟันลงไป วัสดุที่ใช้มีให้เลือกหลากหลาย เช่น ทอง คอมโพสิตเรซิน พอร์เซเลน และอมัลกัม

เมื่อไหร่ควรอุดฟัน

เมื่อไหร่ควรอุดฟันดี  มีข้อแนะนำก็คือให้ลองสำรวจง่าย ๆ ด้วยตนเอง โดยสังเกตบริเวณฟันทุกด้าน ทั้งด้านในและด้านข้าง ว่ามีรอยผุของฟันหรือไม่ เพื่อความมั่นใจควรพบทันตแพทย์ เพื่อทำการตรวจให้ละเอียด ทันตแพทย์จะทำการตรวจสอบพื้นผิวของฟันแต่ละซี่ด้วยเครื่องมือพิเศษ ทำการเอ็กซเรย์ทั้งช่องปากเพื่อวินิจฉัยว่ามีฟันผุหรือไม่ และได้รับการรักษาโดยการอุดฟันได้หรือไม่

วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน

สำหรับวัสดุที่ใช้สำหรับการอุดฟันมีหลายประเภท ซึ่งแบบไหนที่เหมาะกับตัวเองนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันผุของแต่ละคน การแพ้วัสดุบางชนิดของแต่ละคน รวมถึงบริเวณที่ต้องการอุดฟัน สามารถอุดฟันด้วยวัสดุต่าง ๆ ดังนี้

– อุดฟันด้วยทอง

กล่าวได้ว่าทองเป็นวัสดุอุดฟันที่ดีที่สุดเลยทีเดียว ซึ่งก็มีราคาแพงด้วยเช่นกัน การอุดฟันด้วยวัสดุชนิดนี้จะไม่ค่อยระคายเหงือก และสามารถอยู่ได้นาน คงทนกว่าการใช้วัสดุชนิดอื่น

– อุดฟันด้วยอมัลกัม (เงิน)

การอุดฟันด้วยวัสดุชนิดนี้จะมีสีที่เด่นชัด จึงไม่นิยมใช้กับบริเวณที่เห็นได้ง่าย เช่น ฟันหน้า ด้วยมีสีที่ไม่เหมือนฟันตามธรรมชาติ การอุดฟันด้วยวัสดุชนิดนี้มีราคาไม่แพงนัก ค่อนข้างอยู่คงทน มีความแข็งแรง สามารถรองรับแรงบดเคี้ยวได้ วัสดุนี้มีข้อเสียก็คือ จะมีการสูญเสียเนื้อฟันมากกว่าวิธีอื่น เนื่องจากการอุดด้วยอมัลกัมนี้จะต้องใช้พื้นที่กว้าง

– อุดฟันคอมโพสิต (เรซิน)

วัสดุชนิดนี้มีสีที่เหมือนกับฟันมาก จึงนิยมใช้กับบริเวณที่ต้องการความเป็นธรรมชาติ สามารถเลือกสีที่เหมือนฟันได้ สามารถนำวัสดุเรซินนี้ใช้ในการตกแต่งและซ่อมแซมฟันที่บิ่น แตกหักให้กลับมามีรูปร่างสวยงามเหมือนเดิมได้ วัสดุชนิดนี้ช่วยรักษาเนื้อฟันมากกว่าการใช้อมัลกัม ด้วยเพราะการอุดด้วยเรซินทำได้ด้วยการกรอเนื้อฟันที่เสียออกเท่านั้น อย่างไรก็ตามวัสดุชนิดนี้มีข้อจำกัดคือ มีอายุการใช้งานที่ไม่นาน ใช้เวลาในการรักษานานกว่า มีวิธีการที่ซับซ้อนกว่าวัสดุชนิดอื่น และมีราคาที่ค่อนข้างสูง

– อุดฟันด้วยพอซเลน

วัสดุนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเลย์ สามารถทำสีให้เข้ากับสีฟันได้ มีราคาที่ค่อนข้างสูงเหมือนกับการอุดฟันด้วยทอง มีความคงทนใช้งานได้นาน

หลังอุดฟันควรดูแลรักษาฟันอย่างไร

เมื่อทันตแพทย์ทำการอุดฟันเรียบร้อยแล้ว การดูแลรักษาเป็นสิ่งที่คนไข้ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สามารถทำได้ ดังนี้
– ทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันให้สะอาดและถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
– ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง
– น้ำยาบ้วนปากที่ใช้ ควรเลือกที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ก่อนเข้านอน โดยกลั้วน้ำยาบ้วนปากและอมไว้ราว 1 นาที ก่อนบ้วนน้ำยาบ้วนปากออก
– หากมีอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน จากการแตกหลุดของวัสดุอุดฟัน ควรรีบพบทันตแพทย์ทันที
– ควรหมั่นไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ และรับการขูดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน การตรวจสภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดการเกิดฟันผุได้
– คนไข้ควรหลีกเลี่ยงการกัด ขบ เคี้ยว ของแข็ง ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ที่แน่น เนื้อแข็ง หรือ น้ำแข็ง ขนมแข็ง ๆ หากต้องการจะรับประทานจริง ๆ ก็ให้แบ่งเป็นคำเล็ก ๆ และค่อย ๆ เคี้ยวอย่างระมัดระวังเพื่อลดการเสี่ยงของฟันว่าอาจจะเกิดการบิ่นแตก

หลังจากอุดฟัน ฟันซี่นั้นจะไม่มีความแข็งแรงเหมือนเดิม ดังนั้นคนไข้ควรใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ หมั่นสังเกตความผิดปกติ ตรวจสอบสี และรอยบิ่นของฟันที่อุดว่ามีเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ควรระมัดระวังในการรับประทานอาหารอย่างที่แนะนำไป และควรใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพฟันให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อฟันที่แข็งแรง ไม่มีปัญหาฟันผุอีกต่อไปค่ะ

ขั้นตอนการอุดฟัน

เริ่มต้น ทันตแพทย์จะทำการตรวจเช็คฟันของคนไข้ก่อนว่า มีระดับความผิดปกติมากน้อยเพียงใด และสามารถทำการรักษาโดยการอุดฟันได้หรือไม่ หลังจากนั้นจึงทำการกรอฟัน เพื่อเตรียมฟันไว้สำหรับรองรับการอุดฟัน โดยฟันที่มีเศษอาหารติด หรือมีส่วนที่มีสีดำ ๆ ทันตแพทย์จะทำการกรอฟันที่ผุออก เพื่อให้เหลือเฉพาะเนื้อฟันที่มีความแข็งแรงเท่านั้น ในช่วงกรอฟัน คนไข้อาจมีความรู้สึกเสียวฟันบ้าง ซึ่งบางราย ทันตแพทย์อาจจะทำการฉีดยาชาก่อนเพื่อลดอาการเสียวฟันระหว่างทำการกรอฟัน หลังจากนั้นก็จะมาถึงขั้นตอนการใส่วัสดุอุดฟันในบริเวณฟันที่ผุ โดยจะเลือกใช้วัสดุชนิดที่คนไข้ต้องการ และทำการเติมวัสดุอุดฟันเข้าไป หลังจากนั้นทันตแพทย์จะทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อทำการตกแต่งให้ฟันดูดีและสวยงาม

สำหรับแบบที่ 2 ก็คือ เครื่องมือแบบติดแน่น ประกอบด้วยแบร็กเก็ต สำหรับฟันด้านหน้า และฟันหลังอาจใช้ตัวแบรนด์ที่มีท่อบัดกรีสวมบนฟัน ป้องกันไม่ให้ท่อหลุดออกจากผิวฟัน